ประวัติความเป็นมาเทศบาลตำบลหนองไผ่
เดิมเทศบาลตำบลหนองไผ่ มีฐานะเป็นสภาตำบล และได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2539 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2546 ได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลหนองไผ่ ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลหนองไผ่ ตามประกาศกระทรวง มหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นเทศบาลตำบลหนองไผ่ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2551 และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยเทศบาลตำบลหนองไผ่มีพื้นที่ประมาณ 72 ตารางกิโลเมตร หรือ 48,126 ไร่ ครอบคลุมเขตการปกครองตำบลหนองไผ่ทั้ง 12 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านหนองไผ่
หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม
หมู่ที่ 3 บ้านหนองสะหนาย
หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวแดง
หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัวแดง
หมู่ที่ 6 บ้านหนองไผ่น้อย
หมู่ที่ 7 บ้านโนนสวรรค์
หมู่ที่ 8 บ้านดงบาก
หมู่ที่ 9 บ้านเพ็ก
หมู่ที่ 10 บ้านหายโศก
หมู่ที่ 11 บ้านคำบาก
หมู่ที่ 12 บ้านหนองคำยาง
สภาพข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้ง
ปัจจุบันเทศบาลตำบลหนองไผ่ตั้งอยู่เลขที่ 193 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ 41130
ประชากร
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ 9,396 คนข้อมูล ณ วันที่ 5 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2567
เนื้อที่ อาณาเขต และการปกครอง
ตำบลหนองไผ่มีเนื้อที่ประมาณ 72 ตารางกิโลเมตร หรือ 48,126 ไร่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลผักตบ อำเภอหนองหาน
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลหนองไผ่ มีลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ สภาพดินร่วนปนทราย นอกจากนี้มีลำห้วยที่สำคัญ ได้แก่ ลำห้วยขี้หนู ลำห้วยคำไก่เขี่ย ลำห้วยหินโน ลำห้วยดาน ลำห้วยวังปลาเข็ง ลำห้วยวังปลาคล้าว ลำห้วยวังเดือนห้า ฯลฯ
สมรรถนะดิน
เป็นดินดีพอสมควร มีการระบายน้ำเร็ว เป็นดินเนื้อปานกลางเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง แต่ต้องใช้ปุ๋ยในอัตราส่วนที่เหมาะสม
สภาพภูมิอากาศ
ฤดูร้อน เริ่มเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุด 34 – 36 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,540.90 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 15 – 16 องศาเซลเซียส
สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
มีลักษณะเป็นชุมชนศูนย์การบริการเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค สภาพเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับการผลิตภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง การปศุสัตว์ก็จะทำควบคู่ไปกับการเพาะปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน สำหรับด้านอุตสาหกรรมก็เป็นในลักษณะต่อเนื่องกับการเกษตร ซึ่งจะเป็นการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก อันได้แก่ โรงสีข้าว โรงทำปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น
ลักษณะทางโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม
พื้นที่เทศบาลตำบลหนองไผ่ มีถนนลาดยางและลูกรังเพื่อใช้ในการสัญจรไปมา มีถนนสายหลักที่ใช้ในการสัญจร จำนวน 3 สาย
- ทางหลวงชนบท เส้น โนนสวรรค์ – อุ่มจาน
- ทางหลวงชนบท เส้น หนองบัวแดง – ดงบาก
- ทางหลวงแผ่นดิน เส้น หนองหาน – กุมภวาปี
การไฟฟ้า
เทศบาลตำบลหนองไผ่ ไม่มีสำนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ มีเพียงหน่วยบริการไฟฟ้าย่อยอำเภอหนองหาน สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ มีไฟฟ้าใช้เกือบหมดทุกหลังคาเรือน
การประปา
กิจการด้านการประปา เทศบาลตำบลหนองไผ่ มีกิจการด้านการประปาดังต่อไปนี้
หมู่ที่ 1 บ้านหนองไผ่ ใช้ประปาของเทศบาล
หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม ใช้ประปาของเทศบาล
หมู่ที่ 3 บ้านหนองสะหนาย ใช้ประปาของเทศบาลส่วนหนึ่ง และประปาส่วนภูมิภาค อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร อีกส่วนหนึ่ง
หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวแดง ใช้ประปาส่วนภูมิภาค
หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัวแดง ใช้ประปาส่วนภูมิภาค
หมู่ที่ 6 บ้านหนองไผ่น้อย ใช้ประปาของเทศบาล
หมู่ที่ 7 บ้านโนนสวรรค์ ใช้ประปาของเทศบาล
หมู่ที่ 8 บ้านดงบาก ใช้ประปาของเทศบาล
หมู่ที่ 9 บ้านเพ็ก ใช้ประปาของหมูบ้าน (ของกรมโยธาธิการและผังเมือง)
หมู่ที่ 10 บ้านหายโศก ใช้ประปาของเทศบาล
หมู่ที่ 11 บ้านคำบาก ใช้ประปาของเทศบาล
หมู่ที่ 12 บ้านหนองคำยาง ใช้ประปาของเทศบาล
การสื่อสาร และโทรคมนาคม
ในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ มีที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง และตู้โทรศัพท์สาธารณะให้ประชาชน จำนวน 5 แห่ง
การศึกษา
ในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีจำนวน 5 โรงเรียน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 ศูนย์ โรงเรียนเอกชน 1 โรงเรียนประกอบด้วย
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3
- โรงเรียนบ้านหนองไผ่พิทยาคม ระดับประถมศึกษา -ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- โรงเรียนบ้านหนองบัวแดง ระดับประถมศึกษา – ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- โรงเรียนบ้านหนองสะหนาย ระดับประถมศึกษา
- โรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ ระดับประถมศึกษา -ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- โรงเรียนบ้านเพ็กคำบากหายโศก ระดับประถมศึกษา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 5 ศูนย์
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองขาม
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัวแดง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงบาก
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเพ็ก
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหายโศก
โรงเรียนเอกชน มี 1 โรงเรียน
- โรงเรียนกฤชานันท์ ระดับประถมศึกษา – ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและที่นันทนาการ
เทศบาลตำบลหนองไผ่ กำลังดำเนินการโครงการที่จะพัฒนาสวนสาธารณะหนองแฝก หมู่ที่ 1 หนองกุง หมู่ที่ 2 และจุดพักรถบ้านหนองบัวแดง หมู่ที่ 4 เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสถานที่ออก กำลังกาย และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,ลำห้วย 16 สาย
- บึง หนองและอื่น ๆ 14 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 8 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 22 แห่ง
- บ่อโยก 23 แห่ง
- ผนังกั้นน้ำ 3 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 12 แห่ง
- ประปาส่วนภูมิภาค 1 แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ
- วนอุทยาน 1 แห่ง
ด้านเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
เทศบาลตำบลหนองไผ่ มีลักษณะเป็นสังคมชนบท ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง รองลงมาคือ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป และอื่น ๆ
หน่วยธุรกิจและบริการ
- ปั๊มน้ำมัน 5 แห่ง
- โรงสี 12 แห่ง
- ไปรษณีย์ 1 แห่ง
การอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่มีอุตสาหกรรมขนาดย่อมจ้างแรงงานไม่กี่คน และอุตสาหกรรมในครัวเรือนต่อเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตร เช่น การทำอิฐบล็อก การหล่อเสาปูน โรงสีข้าว โรงปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น
การปศุสัตว์
การปศุสัตว์ส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ จะเป็นในลักษณะเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือนควบคู่ไปกับการเกษตร เช่น โค , กระบือ, สุกร,เป็ด,ไก่,ปลา เป็นต้น
ด้านสังคม
หมู่บ้าน
หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านหนองไผ่
หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม
หมู่ที่ 3 บ้านหนองสะหนาย
หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวแดง
หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัวแดง
หมู่ที่ 6 บ้านหนองไผ่น้อย
หมู่ที่ 7 บ้านโนนสวรรค์
หมู่ที่ 8 บ้านดงบาก
หมู่ที่ 9 บ้านเพ็ก
หมู่ที่ 10 บ้านหายโศก
หมู่ที่ 11 บ้านคำบาก
หมู่ที่ 12 บ้านหนองคำยาง
ศาสนา
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 100 และมีศาสนสถาน (วัด) จำนวน 14 แห่ง
- วัด/สำนักสงฆ์ 14 แห่ง
- ศาลเจ้า – แห่ง
- โบสถ์ 4 แห่ง
- มัสยิด – แห่ง
- โบราณวัตถุ – แห่ง
วัฒนธรรม
ประเพณีท้องถิ่น และวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่
- ประเพณีขึ้นปีใหม่ จัดขึ้นประมาณ มกราคม
- ประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นประมาณ เมษายน
- วันผู้สูงอายุ จัดขึ้นประมาณเดือน เมษายน
- ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จัดขึ้นประมาณเดือน กรกฎาคม
- ประเพณีลอยกระทง จัดขึ้นประมาณเดือน พฤศจิกายน
สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 2 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน 2 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน – แห่ง
- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
การป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย
- รถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์ จำนวน 1 คัน
- รถยนต์ส่วนกลาง 4 ประตู จำนวน 2 คัน
- รถขยะขนาดบรรทุก 6 ตัน จำนวน 1 คัน
- รถสี่ล้อเพื่อการเกษตร จำนวน 1 คัน
- รถจักรยานยนต์ขนาด 80 ซีซี จำนวน 1 คัน
- เครื่องเจาะน้ำบาดาล จำนวน 1 เครื่อง
- ถังดับเพลิง จำนวน 14 ถัง
ปัจจัยการผลิตด้านแหล่งทุนในชุมชน
กองทุน / กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน
จำนวนกลุ่มอาชีพ 35 กลุ่มอาชีพ แยกเป็น
หมู่ที่ 1 บ้านหนองไผ่
- กลุ่มแม่บ้านออมทรัพย์
- กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
- กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ
- กลุ่มแม่บ้านสุขา
หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม
- กลุ่มแม่บ้านออมทรัพย์
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากใยพืช
- กลุ่มเย็บเสื้อสตรี
- กลุ่มสภาชุมชนบ้านหนองขาม
หมู่ที่ 3 บ้านหนองสะหนาย
- กลุ่มเลี้ยงโค
- กลุ่มปลูกข้าวโพด
- กลุ่มเลี้ยงปลา
- กลุ่มเลี้ยงกระบือ
หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวแดง
- กลุ่มแม่บ้าน
- กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัวแดง
- กลุ่มปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด
หมู่ที่ 6 บ้านหนองไผ่น้อย
- กลุ่มแม่บ้านทอผ้า
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
หมู่ที่ 7 บ้านโนนสวรรค์
- กลุ่มโรงสีชุมชน
- กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
หมู่ที่ 8 บ้านดงบาก
- กลุ่มทอผ้า
- กลุ่มทอผ้า
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
หมู่ที่ 9 บ้านเพ็ก
- กลุ่มแม่บ้านออมทรัพย์
- กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
- กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ
- กลุ่มแม่บ้านสุขา
หมู่ที่ 10 บ้านหายโศก
- ศูนย์สาธิตเพื่อการตลาด
- กลุ่มพัฒนาการประมง 1,2
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
- กลุ่มเลี้ยงวัว
หมู่ที่ 11 บ้านคำบาก
- กลุ่มอาชีพแม่บ้าน
- กลุ่มอาชีพเพื่อการผลิต
หมู่ที่ 12 บ้านหนองคำยาง
– ไม่มี