อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล
เทศบาลตำบล ถือเป็นหน่วยราชการปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในท้องถิ่นมากที่สุด มีผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในการบริหารงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย
มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
๑. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๒. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
หน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
๓. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
๔. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
๕. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
๖. จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก
๗. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้บริการ
๘. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๙. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา ๕๑ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
๑. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
๒. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
๓. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
๔. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
๕. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
๖. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
๗. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๘. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
๙. เทศพาณิชย์
ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ หมวด ๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเองดังนี้
๑. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
๒. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
๓. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
๔. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
๕. การสาธารณูปการ
๖. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
๗. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
๘. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
๙. การจัดการศึกษา
๑๐. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
๑๑. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๑๒. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
๑๓. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๑๔. การส่งเสริมการกีฬา
๑๕. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๖. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
๑๗. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๑๘. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
๑๙. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
๒๐. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
๒๑. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
๒๒. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
๒๓. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
๒๔. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒๕. การผังเมือง
๒๖. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
๒๗. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
๒๘. การควบคุมอาคาร
๒๙. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๓๐. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๓๑. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
นายกเทศมนตรี ที่มาและหน้าที่ตามกฎหมาย
พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496
มาตรา 48ทวิ ในกรณีที่ประชาชนในเขตเทศบาลใดออกเสียงประชามติให้การบริหาร ในเขตเทศบาลใช้รูปแบบ นายกเทศมนตรี ให้เทศบาลนั้นมีนายกเทศมนตรีคนหนึ่งซึ่งเลือกตั้ง โดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาล
การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีให้กระทำโดยวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือก ตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา 48ตรี บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
(1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทย มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับ ถึงวันเลือกตั้ง
มาตรา 48จัตวา บุคคลผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคล ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ เลือกตั้งนายกเทศมนตรี
(1) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(2) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มาตรา 48เบญจ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลในวันสมัครรับเลือกตั้งและ ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือน และที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้เทศบาล ในปีที่สมัครหรือในปีก่อนปีที่สมัครหนึ่งปี
มาตรา 48อัฏฐ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีซึ่ง มิใช่สมาชิกสภาเทศบาล เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหาร ราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ได้ตามจำนวนดังต่อไปนี้
(1) เทศบาลตำบล ให้มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกินสองคน
(2) เทศบาลเมือง ให้มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกินสามคน
(3) เทศบาลนคร ให้มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกินสี่คน
มาตรา 48นว รองนายกเทศมนตรีต้องมีคุณสมบัติตาม มาตรา 48เบญจ (1) และ (2) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 48ฉ
มาตรา 48ทศ นายกเทศมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการต้องแถลงนโย บาลต่อสภาเทศบาลโดย ไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่ง
ก่อนแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลนายกเทศมนตรี ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเทศบาลว่า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากปล่อยให้ เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญ ของราษฎรหรือราชการนายกเทศมนตรีที่เข้ารับหน้าที่จะดำเนินการไปพลางก่อน เพียงเท่าที่จำเป็นก็ได้
ให้นายกเทศมนตรีรายงานและแถลงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ตามวรรคหนึ่ง ต่อสภาเทศบาลเป็นประจำทุกปี
ในกรณีที่ประธานสภาเทศบาลไม่เรียกประชุมสภาเทศบาลภายในกำหนดเวลา ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้เรียกประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม
มาตรา 48เอกาทศ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี หรือผู้ซึ่งนายกเทศมนตรีมอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา เทศบาลและมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา 48ทวาทศ สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน สมาชิกเท่าที่มีอยู่มีสิทธิเข้า ชื่อเสนอญัตติขอ เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมสภาเทศบาลเพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลง ข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการเทศบาลโดย ไม่มีการลงมติ
ญัตติตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภาทศบาล และให้ประธานสภาเทศบาลกำหนดวันสำหรับ อภิปรายทั่วไป ซึ่งต้อง ไม่เร็วกว่าห้าวันและไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับญัตติ แล้วแจ้งให้นายกเทศมนตรีทราบ
มาตรา 48เตรส นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล ให้เป็นไปตามกฎหมาย เทศบัญญัติ และนโยบาย
(2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการ นายกเทศมนตรี
(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
มาตรา 48จตุทศ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีต้อง ไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐรัฐ วิสาหกิจ การพาณิชย์ ของเทศบาล บริษัทที่เทศบาลถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(2) รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ ของเทศบาล หรือบริษัทที่เทศบาลถือหุ้น นอกเหนือไป จากที่ที่ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ของเทศบาลหรือบริษัทที่เทศบาลถือหุ้นปฏิบัติ กับบุคคลในธุรกิจการงานตามปกติ
(3) เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาที่ทำกับเทศบาลหรือ การพาณิชย์ของ เทศบาล หรือบริษัทที่เทศบาลถือหุ้น
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวตาม วรรคหนึ่งได้รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ หรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งรับเงินตอบแทนค่า เบี้ยประชุมหรือเงินอื่นใดเนื่อง จากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรหรือสภา เทศบาลหรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
มาตรา 48ปัญจทศ นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ถึงคราวออกตามวาระ
(2) ตาย
(3) เมื่อมีการยุบสภาเทศบาล
(4) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(5) ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 48เบญจทศ หรือมีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 48ฉ
(6) กระทำการฝ่าฝืนตาม มาตรา 48จตุทศ
(7) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาสอบสวนและสั่งให้ออกจากตำแหน่งตาม มาตรา 73
(9) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตาม กฎหมายว่าด้วยการลง คะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ในระหว่างที่ไม่มีนายกเทศมนตรี ให้ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเท่าที่จำเป็นได้เป็น การชั่วคราวจนกว่านายกเทศมนตรีซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
เมื่อมีกรณีสงสัยว่าความเป็นนายกเทศมนตรีสิ้นสุดลงตาม (5) หรือ (6) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวน และวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด
มาตรา 48โสฬส รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
(2) นายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
(3) ตาย
(4) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายกเทศมนตรี
(5) ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 48เบญจ (1) และ (2) หรือมีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 48ฉ
(6) กระทำการฝ่าฝืนตาม มาตรา 48จตุทศ
(7) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาสอบสวนและสั่งให้ออกจากตำแหน่งตาม มาตรา 73
ให้นำความในวรรคสามของ มาตรา 48ปัญจทศ มาใช้บังคับกับกรณีรองนายกเทศมนตรีด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 48สัตตรส ให้นายกเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลและเป็น ผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาล
มาตรา 48อัฏฐารส เทศบาลแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(1) สำนักปลัดเทศบาล
(2) ส่วนราชการอื่นตามที่นายกเทศมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักปลัดเทศบาลและส่วนราชการอื่นตาม วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ นายกเทศมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 48เอกูนวีสติ ให้มีปลัดเทศบาลคนหนึ่งเป็นผู้บังคับ บัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาล รองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย
การบริหารงานบุคคลของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา 48วีสติ อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองนายกเทศมนตรี ให้เป็นไปตาม ที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย
ในกรณีที่นายกเทศมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกเทศมนตรี ตามลำดับที่นายกเทศมนตรี จัดไว้เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองนายกเทศมนตรีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดเทศบาลเป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่นายกเทศมนตรีจะพึงปฏิบัติหรือ ดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ หรือคำสั่งใดหรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรี ในเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นนายกเทศ มนตรีอาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองนายกเทศมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติราชการ แทนนายกเทศมนตรีก็ได้ แต่ถ้ามอบให้ปลัดเทศบาลหรือรองปลัดเทศบาลปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ
การปฏิบัติราชการแทนนายกเทศมนตรีตามวรรคสาม ต้องกระทำภายใต้การกำกับดูแลและกรอบ นโยบายที่นายกเทศมนตรีกำหนดไว้
มาตรา 48เอกวีสติ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรีและพนักงานเทศ บาลเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 48ทวาวีสติ ถ้าในเขตเทศบาลใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นเป็นการสมควร ให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล หรือหัวหน้าส่วนราชการในเขตเทศบาลนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิด เทศบัญญัติได้ ให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการเปรียบเทียบคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้เปรียบเทียบคดีใดแล้ว ให้รีบส่งบันทึกการเปรียบเทียบพร้อมด้วยสำนวนไปยังพนักงานสอบสวนผู้รับผิด ชอบแห่งเขต ท้องที่ซึ่งเทศบาลนั้นตั้งอยู่เพื่อดำเนินการต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจา ณาความอาญาโดยไม่ชักช้า
มาตรา 48เตวีสติ เมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้ มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะท้องถิ่นใด เป็นเทศบาลแล้ว ให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่ บ้านบรรดา ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่หรือกฎหมายอื่น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 48จตุวีสติ เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรีให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 48ปัญจวีสติ ในกรณีที่บทบัญญัติ มาตราในพระราชบัญญัตินี้กล่าวถึงคณะเทศมนตรี ให้หมายถึงนายกเทศมนตรี บทบัญญัติ มาตรากล่าวถึงเทศมนตรี ให้หมายถึงรองนายกเทศมนตรี เว้นแต่บทบัญญัติ มาตรา มีข้อความเป็นอย่างเดียวกันหรือขัดแย้งกันกับบทบัญญัติในบทนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในบทนี้แทน
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติประกาศ หรือคำสั่ง ใดที่อ้างถึงคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น อ้างถึงนายกเทศมนตรีตามบทนี้ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งบทนี้
สภาเทศบาลตำบลกลางใหญ่ ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มีประธานสภาเทศบาล 1 คน และรองประธาน 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิก สภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. อำนาจเกี่ยวกับการนิติบัญญัติ
2. อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร (นายกเทศมนตรี)
2.1 ตั้งกระทู้ถามกรณีสมาชิก (สท.) สงสัยการบริหารงานของนายกเทศมนตรีที่ส่อไปทางจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน
2.2 เปิดอภิปรายต่อนายกเทศมนตรีซึ่งถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติงานไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่และความประพฤติเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง
3. อำนาจการอนุมัติงบประมาณประจำปีก่อนที่นายกเทศมนตรีจะดำเนินการใดในแต่ละปี ต้องนำงบฯ เข้าขออนุมัติต่อสภาเทศบาล เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเพราะสภาเทศบาลโดยสมาชิกทุกคน เป็นตัวแทนของประชาชนในเขตเทศบาล สามารถควบคุมการจัดหารายได้ การใช้เงิน (ภาษี) ของประชาชน มิให้นายกเทศมนตรี (ฝ่ายบริหาร) นำไปใช้จ่ายในทางไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ทั้งนี้ สภาเทศบาล มีอำนาจปรับ - ลด งบประมาณฯ ได้ตามที่กฎหมายกำหนด หากโครงการงบประมาณฯ ตั้งงบสูงอย่างผิดปกติ
หน้าที่หลักของสมาชิกสภาเทศบาล
1) รับทราบนโยบายของผู้บริหารเทศบาล จากการรับฟังการแถลงนโยบาย แม้ว่าสมาชิกสภาเทศบาลจะไม่สามารถลงมติไว้วางใจได้ก็ตาม แต่สมาชิกสภาฯ ก็สามารถซักถามและอภิปรายนโยบายที่แถลงนั้นได้ ซึ่งจะเกิดผลขึ้นได้ในหลายประการ ได้แก่
ก. สมาชิกสภาเทศบาลในฐานะตัวแทนของเทศบาลพึงรับทราบว่านายกเทศมนตรีมีวิธีการหรือแนวทางในการบริหารงานเทศบาลอย่างไรบ้าง ซึ่งก็จะเป็นการผูกมัดให้นายกเทศมนตรีต้องบริหารงานเป็นไปตามนโยบายที่แถลงต่อสภาเทศบาล
ข. สมาชิกสภาเทศบาลสามารถซักถามและอภิปรายนโยบายของนายกเทศมนตรีในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวางทำให้การทำงานมีความโปร่งใสมากขึ้น ตลอดจนการทำงานจะมีความรอบคอบละเอียดถี่ถ้วนยิ่งขึ้น
ค. สมาชิกสภาเทศบาลสามารถตรวจสอบการทำงานของนายกเทศมนตรีว่าได้ปฏิบัติตามนโยบายหรือไม่ อันอาจจะใช้เป็นช่องทางในการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
ง. นายกเทศมนตรีได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อนำมาปรับใช้ในการบริหารงานเทศบาล
2) การตรวจตราเทศบัญญัติต่างๆ (เทศบัญญัติในกิจการของสภาหรือเทศบัญญัติงบประมาณ) ที่จะกล่าวต่อไป
3) การควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร โดยวิธีการต่อไปนี้ ก. การเสนอญัตติ ข. การตั้งกระทู้ถามผู้บริหารเทศบาล (นายกเทศมนตรี,รองนายกเทศมนตรี) ค. การอภิปราย ง. การแปรญัตติ จ. การแต่งตั้งคณะกรรมการ (กรรมการสามัญประจำสภาและคณะกรรมการวิสามัญ)
4) การให้ความเห็นชอบ ในเรื่องต่อไปนี้
ก. การให้ความเห็นชอบในเรื่องของญัตติที่เสนอในที่ประชุมสภาเทศบาลเพื่อพิจารณา
ข. การให้ความเห็นชอบในเทศบัญญัติงบประมาณของเทศบาล (เทศบัญญัติงบประมาณประจำปีและเทศบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม)
5) มีมติให้สมาชิกสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 19 (7) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่เทศบาลหรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาเทศบาล โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่า 1/3 ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3/4 ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
6) มีมติให้ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 20 ทวิ (4) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2546 ที่บัญญัติ สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่า มีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่งหรือสภาเทศบาลปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติการ หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่า 1/3 ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาเทศบาลพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3/4 ของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติ
7) หน้าที่อื่นๆ อีกหลายบทบาทเช่น การแก้ไขปัญหาข้อเดือดร้อนของประชาชนด้านต่างๆ การดูแลทุกข์ของประชาชนทั่วๆ ไป การเป็นผู้นำให้ท้องถิ่น การรักษาผลประโยชน์ให้ท้องถิ่น การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเป็นที่พึ่งและศูนย์รวมจิตใจของท้องถิ่น เป็นต้น
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562
ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(2/1) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
1.ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
2.ให้มีโรงฆ่าสัตว์
3.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
4.ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
5.บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
6.ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
7.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
8.ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
9.เทศพาณิชย์
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16
ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่
ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเองดังนี้
1.การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2.การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3.การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4.การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
5.การสาธารณูปการ
6.การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
7.การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
8.การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9.การจัดการศึกษา
10.การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11.การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13.การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14.การส่งเสริมการกีฬา
15.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19.การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20.การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
21.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
23.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
24.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25.การผังเมือง
26.การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
27.การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28.การควบคุมอาคาร
29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
31.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด